วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ผลงานนิสิต

โครงงานสิ่งประดิษฐ์


เรื่องกล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติม


จัดทำโดย

นางสาวขวัญตา กุลผา




เสนอ

อาจารย์ จริยา วิชัยดิษฐ

มาหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา








บทคัดย่อ

ชื่อโครงงาน              : กล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติม
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน    : นางสาวขวัญตา กุลผา
อาจารย์ที่ปรึกษา       : อาจารย์ จริยา วิชัยดิษฐ
มหาวิทยาลัย            : ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

            จากผลการดำเนินงานโครงงานสิ่งประดิษฐ์กล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติมเราสามารถใช้งานสิ่งประดิษฐ์ และสามารถนำไม้ไอติมมาทำเป็นกล่องใส่ปากกาตามต้องการได้และสามารถทำกล่องใส่ปากาได้หลายขนาดตามความต้องการ มีความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพการใช้งาน











กิตติกรรมประกาศ
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องกล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติมนี้สามมารลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการแนะนำชี้แนะและให้กำลังใจจากหลายๆ ท่านและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์รวมทั้งอาจารย์ในหมวดวิทยาศาสตร์ทุกท่านที่ได้สละเวลาช่วยให้คำแนะนำปรึกษา
                                             
                                                                                                                                                                                                                                                             จัดทำโดย
                                                                                                   นางสาวขวัญตา กุลผา






บทที่1
บทนำ

ที่มาและวามสำคัญของโครงงาน
      ที่มาและความสำคัญของโครงงานพบว่าในปัจจุบันเรานั้นในสังคมไทยส่วนใหญ่เวลาต้องการสิ่งของสิ่งหนึ่งนั้นเราก็จะหาซื้อตามที่ต่างๆที่มีสิ่งของเหล่านั้นแต่พบว่ามีราคาสูงมากข้าพเจ้าเลยตั้งโครงงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อคนที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของที่ต้องการและสามารถลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงและกล่องที่ต้องการมีความทนทานคุ้มค่ามากที่สุดและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด



จุดมุ่งหมายของโครงงาน
          1.เพื่อประดิษฐ์กล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติม
          2.เห็นคุนค่าของไม้ไอติมที่สามารถนำกับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้
          3.เป็นแนวทางให้ผู้อื่นสามารถศึกษาและนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ่นต่อไป

สมมุตติฐาน
            เศษวัสดุเหลือใช้เช่นไม้ไอติม สามารถนำมาดัดแปลง ตกแต่งให้เกิดประโยชน์

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
            ประดิษฐ์กล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติมให้เป็นที่ใส่ปากกา และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ประโยชน์และคุณค่าของโครงงาน
           1.เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้ในการเก็บปากกาให้เป็นระเบียบได้
           2.เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นได้
           3.เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้
           4.เป็นแนวความคิดให้ผู้อื่นได้นำไปขยายความรู้ได้

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน –17 มิถุนายน 2560







บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของไอติม

ไอศกรีม (อังกฤษ: ice cream)หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่งได้จากการผสมส่วนผสมนำไปผ่านการฆ่าเชื้อแล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อมๆกับการลดอุณหภูมิโดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีมไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน

              ไอศกรีมในประเทศไทย
ในประเทศไทยนั้นไอศกรีมเริ่มเข้ามาในช่วงสมัยรัชกาลที่5 เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสร็จประพาสอินเดีย, ชวาและสิงคโปร์ น้ำแข็งในตอนแรก ๆก็ยังไม่สามารถผลิตในประเทศได้จึงต้องนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์เมื่อไทยสั่งเครื่องทำน้ำแข็งเข้ามาก็เริ่มมีการทำไอศกรีมกินกันมากขึ้นถือว่าไอศกรีมเป็นของเสวยเฉพาะสำหรับเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกไว้ว่า
ไอศกรีมเป็นของที่วิเศษในเวลานั้นเพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กที่เขาทำกันตามบ้านเข้ามา ทำบางวันน้ำก็แข็งบางวันก็ไม่แข็งมีไอศกรีมบ้างบางวันก็ไม่มี จึงเห็นเป็นของวิเศษ

โดยไอศกรีมในพระราชวังนั้นจะทำจากน้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว จนต่อมาเมื่อมีโรงงานทำน้ำแข็ง แต่ก็ยังถือเป็นของชั้นดีโดยมีไอศกรีมระดับชาวบ้านทำเองด้วย ในช่วงแรก ๆ นั้นไอศกรีมกะทิมีลักษณะเป็นน้ำแข็งละเอียดใส ๆ รสหวานไม่มาก และมีกลิ่นหอมของดอกนมแมว ในสมัยนั้นวิถีการกินของผู้คนจะนิยมกินอาหารกันในเรือนแพ เหมือนที่สมัยนั้นจะขายก๋วยเตี๋ยว หรือกาแฟกันบนเรือ
ลักษณะของไอศกรีมกะทิใส่ถ้วยพร้อมโรยด้วยถั่วลิสงคั่วก็มีมาตั้งแต่สมัยนั้นซึ่งต่อมาไอศกรีมกะทิก็มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้น จากกะทิใสๆ ก็มีความเข้มข้น มีการใส่ลอดช่อง,เม็ดแมงลัก และขนุนฉีกเข้าไปโดยคนไทยได้ดัดแปลงไอศกรีมของต่างชาติมาเป็นไอติมกะทิโดยใช้กะทิสดผสมกับน้ำตาลนำไปปั่นให้แข็งเนื้อไอติมค่อนข้างใสเป็นเกล็ดน้ำแข็งละเอียดเวลารับประทานต้องขูดไอติมออกจากขอบหม้อโลหะเมื่อไอติมเริ่มแข็งตัว ตอนขายตักใส่ถ้วยเป็นลูกๆเรียกไอติมตักกินกับถั่ว ข้าวเหนียว หรือลูกชิด บางคนกินกับขนมปังที่หั่นเป็นท่อน และมีรอยแยกเป็นร่องอยู่ตรงกลาง
ส่วน ไอศกรีมหลอด หรือไอศกรีมแท่งก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่7 โดยใช้น้ำหวาใส่หลอดสังกะสีและเขย่าให้แข็ง และมีก้านไม้เสียบโดยจะใส่ถังขับไปขายตามถนนสั่นกระดิ่งเป็นสัญญาณเพื่อเรียกลูกค้านอกจากนี้ยังมีจุดขายที่การลุ้นไอศกรีมฟรีจากไม้เสียบที่หากมีสีแดงป้ายอยู่ก็จะได้กินฟรีอีกหนึ่งแท่งด้วยซึ่งไอศกรีมแบบหลอดก็มีการพัฒนาจนมาเป็นไอศกรีมโบราณที่มีส่วนผสมของนมโดยมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมอาจทานเป็นแท่งหรือตัดใส่ถ้วยรับประทานก็ได้
จากนั้นมาก็เป็นยุคของไอศกรีมแบบวัฒนธรรมตะวันตกแท้ ๆ จนถึงปัจจุบัน

ประเภทของไอติม
·         เชอร์เบต
·         ซอร์เบต์
·         ซันเด
·         พาร์เฟต์
·         หวานเย็น
·         ไอติมตัด
·         ไอศรีมโคน

แหล่งกำเนิดของไอติม
ต้นกำเนิดของไอศกรีมนั้นไม่เป็นที่แน่ชัดมาเริ่มจากไหนบางข้อมูลก็ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรแห่งจักรวรรดิโรมัน ที่ได้มีการพระราชทานเลี้ยงไอศกรีมทหาร โดยในสมัยนั้นทำจากเกล็ดน้ำแข็ง(หิมะ)ผสมน้ำผึ้งและผลไม้ ซึ่งคล้ายกับไอศกรีมเชอร์เบตในปัจจุบัน แต่บ้างก็ว่ามาจากประเทศจีน เกิดจากเมื่อสมัยโบราณที่นมถือเป็นของหายาก จึงได้มีการคิดวิธีเก็บรักษาโดยการเอาไปฝังในหิมะ จึงเกิดเป็นไอศกรีมขึ้นแม้จะไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับไอศกรีมอย่างทุกวันนี้
แต่บ้างก็ว่ามาจากอิตาลีโดยมาร์โค โปโล กลับจากจีนแล้วเอาสูตรไอศกรีมมาเผยแพร่ซึ่งในตอนนั้นไอศกรีมของจีนยังไม่มีนม เป็นคล้ายน้ำแข็งไสมากกว่า ยังมีจุดเริ่มต้นจากอังกฤษเมื่อสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่1พ่อครัวคนหนึ่งมีสูตรเด็ดเป็นครีมแช่แข็งปรุงรส ซึ่งเป็นสูตรลับสุดยอดที่ส่งเป็นของหวานถวายพระองค์ทว่าเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยโอลิเวอร์ครอมเวลล์ ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างปีค.ศ.1642-ค.ศ. 1651 พ่อครัวต้องลี้ภัยไปยุโรปจึงได้นำสูตรไอศกรีมนี้เผยแพร่ออกไป
            
     





บทที่ 3
อุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการ

อุปกรณ์
1.ไม้ไอติม
2.กาว
3.กระดุมสี
วิธีการดำเนินการ
1. วางแผนการดำเนินงาน
2. ออกแบบรูปกล่องใส่ปากกาที่เราต้องการ
3. การประดิษฐ์กล่องใส่ปากกา

ภาพการดำเนินการ


ภาพที่ 1.1 ไม้ไอติมแบบสีธรรมดา




ภาพที่ 1.2 ไม้ไอติมแบบสี




ภาพที่ 1.3  กระดุมแบบสี






ภาพที่ 1.4  กาว




ภาพที่ 1.5 ติดกาวกับไม้ไอติมสีและไม้ไอติมสีธรรมดาให้ต่อกันได้รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส







บทที่ 4
ผลการดำเนินการ

จากที่ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามโครงงานสิ่งประดิษฐ์กล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติมมีการร่วมมือกันสืบค้นและสอบถามข้อมูลตามหมู่บ้านต่างๆจากผู้ปกครองของนักเรียนผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการทำโครงงานได้ดี




ภาพที่ 1.6 ด้านข้างกล่องใส่ปากาจะมีที่ใส่ช่องเล็กๆด้วย




ภาพที่ 1.6 กล่องใส่ปากกาที่เสร็จพร้อมใช้งาน








บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลการดำเนินการ

สรุปผลการดำเนินการ
     ากการดำเนินการในการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องกล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติม สรุปผลตามจุดมุ่งหมายของโครงงานดังนี้
1.ได้กล่องใส่ปากกาที่สามารถใช้เก็บปากกาให้เป็นระเบียบได้
2.ได้แนวทางและเห็นคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งของเหลือใช้ ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้
3.เป็นแนวทางให้ผู้อื่นสามารถศึกษา และนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อภิปรายผลการดำเนินการ
จากผลการประดิษฐ์กล่องใส่ปากกาจากไม้ไอติม เราสามารถใช้งานสิ่งประดิษฐ์ได้จริง สะดวก มีความปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย ประโยชน์ และคุณค่าของโครงงาน
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้เก็บปากกาได้เป็นระเบียบ
2.เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นได้
3. เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้
4. เป็นแนวความคิดให้ผู้อื่นได้นำไปขยายความรู้ได้








เอกสารอ้างอิง

0781:Topic : i70012
Option=com_content&view=category&id=82;2011-04-26-06-17-42
Alisponsri.blogspot.com





7 ความคิดเห็น:

  1. แต้งกิ้วสำหรับแนวทาง

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณค่ะมีงานส่งครูเเล้ววว🙏

    ตอบลบ
  3. มีประฏยชน์มากครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณนะครับที่ให้แนวทางและการทำผมมีความรู้เยอะขึ้นเลยครับขอบคุณนะครับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะพี่"ที่ทำให้หนูมีงานส่งคูร

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณค่ะพี่เพราะพี่เลยคะแนนโครงงานหนูเลยผ่านมาได้ ขอบคุณจริงๆค่ะ

    ตอบลบ

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ - สกุล : นางสาวขวัญตา กุลผา ชื่อเล่น : ขวัญ อายุ : 23 ปี  ว/ด/ป เกิด : 5 กันยายน 2536 บ้านเกิด : จัง...